แผนการจัดการเรียนรู้ที่
1
กลุ่มสาระสังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม
ภาคเรียนที่ 2 พ.ศ.
2558
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสน
นิสิตผู้สอน นางสาวอัญชรี บุดดี
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ส 1.2 เขาใจ
ตระหนักและปฏิบัติตนเปนศาสนิกชนที่ดี และธํารงรักษาพระพุทธศาสนา
หรือศาสนาที่ตนนับถือ
ตัวชี้วัด ส 1.2 ม 1/2
อธิบายประวัติ ความสำคัญ
และปฏิบัติตนในวันสำคัญทางศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนดได้ถูกต้อง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้นักเรียนรู้และเข้าใจประวัติความเป็นมาของวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้
2. เพื่อให้นักเรียนวิเคราะห์ความสำคัญของวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.
ซื่อสัตย์สุจริต นักเรียนสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ด้วยตนเอง
2. มีวินัย นักเรียนมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
3. ใฝ่เรียนรู้ นักเรียนตั้งใจและสนใจในการเรียนรู้
4.
มุ่งมั่นในการทำงาน นักเรียนมีความขยันและมุ่งมั่นในการทำงาน
5. มีจิตสาธารณะ นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
สาระสำคัญ
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในพระพุทธศาสนาโดยเกี่ยวข้องกับ
พระรัตนตรัย ที่รู้จักกันโดยทั่วไป ได้แก่ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา
วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันอัฏฐมีบูชา และวันธรรมสวนะ
พุทธศาสนิกชนทุกคนควรปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องในศาสนพิธีของวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
สาระการเรียนรู้
1. ประวัติและความสำคัญของวันมาฆบูชา
วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา
วันออกพรรษาและวันตักบาตรเทโวโรหณะ และวันธรรมสวนะ
2. การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา
วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษาและวันตักบาตรเทโวโรหณะ
และวันธรรมสวนะ
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน พระพุทธศาสนา ม. 1
2. ใบความรู้ เรื่อง วันมาฆบูชา
และวันธรรมสวนะ
3. ใบความรู้ เรื่อง วันวิสาขบูชา และวันอัฏฐมีบูชา
4. ใบความรู้ เรื่อง วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา
5. ใบความรู้ เรื่อง วันอาสาฬหบูชา
6. ปากกาเคมี และสีไม้
7. ปากกา/ดินสอ
แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด
2. ห้องจริยธรรม หรือห้องพุทธศาสน์
3. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ
ผลงานที่ต้องการ
ให้นักเรียนแต่ละคนสรุปความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในรูป
Mind Mapping ลงในกระดาษ A4
พร้อมทั้งระบายสีให้สวยงาม
การวัดและประเมินผล
1. ประเมินพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์
2. ทดสอบย่อย
3.
การประเมินผลงานนักเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล
1. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ 5 รายการ 15 คะแนน
2. การทดสอบย่อยข้อสอบแบบถูก-ผิด จำนวน 15 ข้อ 15 คะแนน
3. แบบประเมินผลงานนักเรียน
ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ 5 รายการ 15 คะแนน
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
นักเรียนทุกคนมีคะแนนจากการประเมินพฤติกรรมการเรียน
การทดสอบย่อย และการประเมินผลงาน รวมเฉลี่ยไม่น้อยกว้าร้อยละ 80
การจัดการเรียนรู้ที่ 1
กระบวนการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบเทคนิค Jigsaw
ชั่วโมงที่
1
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.1 ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนด้วยการสนทนาและซักถามนักเรียนเกี่ยวกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ดังนี้
- นักเรียนเคยไปร่วมพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในวันใดบ้าง
- พิธีกรรมสำคัญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนไปร่วมพิธีนั้นมีขั้นตอนสำคัญอย่างไร
- นักเรียนรู้สึกอย่างไรที่มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
2. ขั้นตกลงกระบวนการเรียนรู้
2.1 ครูและนักเรียนตกลงกติกาในการเรียน และกติกาในการวัดผล ประเมินผล
2.2 นักเรียนทุกคนเข้ากลุ่มเรียนตามที่ครูกำหนด
2.3 นักเรียนในกลุ่มร่วมมือกันจัดการเรียนรู้
2.4 ผลงานและคะแนนของกลุ่มใดได้สูงจะได้รับรางวัล
2.5 ครูจับสลากเลือกสมาชิกในกลุ่มออกมาอธิบายนำเสนอความรู้และช่วยกันตอบคำถาม
2.6 นักเรียนทุกคนต้องทำแบบทดสอบย่อยโดยไม่ปรึกษากัน
คะแนนของทุกคนจะนำมารวมกันเพื่อ
หาค่าเฉลี่ยเป็นคะแนนของกลุ่มเพื่อนำไปเทียบกับเกณฑ์คะแนนรางวัล
3. ขั้นนำเสนอความรู้
3.1 ครูให้ความรู้กับนักเรียน
เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยครูอธิบายถึงความหมาย ประวัติความเป็นมา
ความสำคัญของวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ วันมาฆบูชา,
วันวิสาขบูชา,
วันอัฏฐมีบูชา, วันอาสาฬหบูชา,
วันเข้าพรรษา, วันออกพรรษา และวันธรรมสวนะ
ให้นักเรียนทุกคนฟัง และสนทนาซักถามเพื่อสร้างความเข้าใจ
3.2 ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม
กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ
และให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนมีหมายเลขประจำตัว คือ หมายเลข 1-4 เรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้านหรือกลุ่มเดิม แต่ละหมายเลขแยกย้าย กันไปเข้ากลุ่มใหม่ ซึ่งเรียกว่า
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เพื่อศึกษาความรู้ตามหัวข้อที่ครูกำหนดไว้ในเอกสารการเรียน
4. ขั้นฝึกทักษะ
4.1 นักเรียนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละหมายเลขจะร่วมกันศึกษาและทำความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้รับมอบหมายตามหมายเลข
ดังนี้
กลุ่มหมายเลข
1 เรื่อง วันมาฆบูชา และ วันธรรมสวนะ
กลุ่มหมายเลข
2 เรื่อง วันวิสาขบูชา และ วันอัฏฐมีบูชา
กลุ่มหมายเลข
3 เรื่อง เข้าพรรษา และ วันออกพรรษา
กลุ่มหมายเลข
4 เรื่อง วันอาสาฬหบูชา
ในขั้นนี้นักเรียนจะใช้กระบวนการต่างๆ
สร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง เช่น กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม ในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ
4.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มผู้เชี่ยวชาญช่วยกันทำใบงานที่ 1
เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งแต่ละหมายเลขจะรับผิดชอบ ช่วยกันสรุปเป็นองค์ความรู้ในรูปแบบ Mind Mapping ลงในกระดาษ
A4 พร้อมทั้งระบายสีให้สวยงาม ตามหัวข้อเรื่อง
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ชั่วโมงที่
2
(ขั้นตอนการเรียนรู้ต่อจากชั่วโมงที่
1)
5. แลกเปลี่ยนความรู้
เมื่อสมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญศึกษาความรู้และทำใบงาน
จนมีความเข้าใจชัดเจนดีแล้วก็ให้แยกย้าย กลับไปยังกลุ่มเดิมหรือกลุ่มบ้าน
แล้วผลัดกันเล่าความรู้ความเข้าใจในข้อมูลที่ได้ศึกษาและทำใบงานให้เพื่อน
หมายเลขอื่นๆ ฟัง และสร้างความเข้าใจไปด้วยกัน
6. ขั้นสรุปความรู้
6.1 ครูให้นักเรียนช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้รับมาทั้งหมด
ทั้งจากที่ได้รับมาจากเอกสารการเรียน และ จากเพื่อน
เพื่อช่วยให้นักเรียนจดจำสิ่งที่เรียนได้ง่าย
และให้นักเรียนแต่ละกลุ่มบ้านช่วยกันสรุปองค์ความรู้ใน ประเด็นสำคัญลงในใบงานที่ 2
เรื่อง จัดระเบียบความรู้ ในลักษณะที่เป็น Mind Map และตกแต่งให้สวยงาม
6.2 ครูเลือกผลงานของนักเรียนที่เป็นแบบอย่างที่ดีออกมาโชว์เป็นแบบอย่างหน้าชั้นเรียน
6.3 ครูให้นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบย่อย
แบบ 4 ตัวเลือก 15 ข้อ รวม 15 คะแนน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น